วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

6. สมมติฐาน (Hypothesis )


         ยุทธ   ไกยวรรณ์(2550:78-79) กล่าวว่า   มีหลักเกณฑ์การเขียนดังนี้
           1.ศึกษาวรรณคดี เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องให้กว้างขวางครบถ้วน เพื่อทฤษฎีและข้อค้นหาสนับสนุน
           2.สมมติฐานการวิจัยที่กำหนดขึ้นจะต้องเป็นคำตอบที่สอดคล้องกันกับวัตถุประสงค์ ของการวิจัย
           3.เขียนข้อความในลักษณะประโยคบอกเล่าให้กกระทัดรัดชัดเจน
           4. เขียนสมมติฐานให้อยู่ในรูปที่สามารถทดสอบได้ จากข้อมูลที่รวบรวม
           5. หากมีสิ่งที่ต้องการพิสูจน์หลายประเด็น ควรแยกเขียนเป็นข้อ ๆ เพื่อให้สะดวกในการทดสอบหรือพิสูจน์
        ไพศาล  วรคำ(2552:70) กล่าวว่า ข้อความที่คาดการณ์คำตอบที่เป็นผลงานวิจัยไว้ล่วงหน้า  หรือข้อสันนิษฐานผลการวิจัยที่คากว่าจะเกิดขึ้น โดยอาศัยฐานความรู้เดิมของผู้วิจัย การตั้งสมมติฐานส่วนใหญ่   จะเป็นการะบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร หรือแนวคิดซึ่งผู้วิจัยต้องการทดสอบว่าเป็นจริงหรือไม่ และอาจให้ความหมายว่า เป็นข้อความที่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร หรือแนวคิดซึ่งผู้วิจัยต้องหารทดสอบ
        รวีวรรณ ชินะตระกูล(2550:41) วิธีการตั้งสมมติฐานจำเป็นต้องมีการกล่าวนำขึ้นมาก่อนที่จะมีการตั้งสมมติฐาน ไม่ควรตั้งสมมติฐานขึ้นมาลอย ๆ โดยไม่ได้อ้างอิงจาทฤษฎี ข้อค้นพบที่น่าเชื่อถือได้และเหตุผลจากข้อเท็จจริงต่าง ๆ  ซึ่งได้กล่าวถึงการเขียนสมคำติฐานที่ควรมีดังนี้
          1.ควรเป็นคำชัดเจนและเฉพาะเจาะจง ควรหลีกเลี่ยงที่มีความหายกว้างเกินไปมากเกินไป ซึ่งเป็นการยากต่อการที่จะทดสอบ
           2.สมมติฐานที่ตั้งขึ้นสามารถทดสอบได้
           3.ควรตั้งให้สอดคล้องกับความจริงที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันในเรื่องที่จะศึกษา
           4.ภาษาที่ใช้ในการตั้งสมมติฐานควรเป็นคำพุดง่าย ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ความหมายเป็นสิ่งที่ชัดเจนสำหรับคนทั่วไป
          สรุป เป็นการคาดการ เหตุการณ์การ  การวิจัยไว้ล่วงหน้า หรือเป็นข้อสันนิษฐานที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้น โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิมที่ผ่านมา  ในการตั้งสมมติฐานต้องมีหลักทฤษฎีอ้างอิงมาด้วยเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ ควรเป็นคำชัดเจน สามารถทดสอบ หรือพิสูจน์ได้  ควรตั้งให้สอดคล้องกับปรากฏการณ์ที่ศึกษาอยู่
อ้างอิง
ไพศาล  วรคำ.(2552).การวิจัยทางการศึกษา.ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ยุทธ  ไกยวรรณ์.(2550).หลักการทำวิจัยและการทำวิทยานิพนธ์.กรุงเทพฯ:บริษัทพิมพ์ดี  จำกัด.
รวีวรรณ  ชินะตระกูล.(2550).วิธีวิจัยการศึกษา.ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น