วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

12. ระเบียบวิธีการวิจัย ( Research Methodology )


         สุทิติ ขัตติยะ,วิไลลักษณ์ สุวจิตตานนท์(2553:29) อ้างถึง Black & Champion.1976 ว่า เป็นคำที่มีความหมายครอบคลุมทั้งหมดของกระบวนการดำเนินการวิจัย นับตั้งแต่ปัญหาการวิจัย รูปแบบการวิจัย วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล การตีความและสรุปการวิจัย ซึ่งรูปแบบการวิจัยเกี่ยวข้องกับการออกแบบการวิจัยเป็นแกนประสานปัญหาการวิจัยกับวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
                http://graduate.east.spu.ac.th/KM/AcademicWriting(F)/unit2/U2_7/01.htm  รศ.ดร.อลิสา วานืชดี  ได้รวบรวมไว้ว่า  ระเบียบวิธีวิจัย กล่าวถึงขั้นตอนและกระบวนการวิจัย ในขั้นตอนนี้ควรจะแสดงถึงโครงสร้างของความรู้ให้ผู้อ่านได้ทราบถึงเงื่อนไขหรือวิธีการที่การทดลองหรือการศึกษาวิจัยนั้นได้กระทำขึ้น ควรรวมถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้อ่านประเมินความน่าเชื่อถือของระเบียบวิธีวิจัย และเป็นการย้ำว่าสามารถทดลองหรือศึกษาซ้ำได้โดยใช้ระเบียบวิธีเดียวกัน หากบางประเด็นมีรายละเอียดมากให้ใส่ไว้ในภาคผนวก
              http://pairach.com/2011/08/07/part2_research_methodolog/ได้รวบรวมไว้ ว่า  ในข้อนี้เป็นการแสดงว่าระเบียบวิธีวิจัยของเรานั้นมีความถูกต้องและเหมาะสมตามหลัก มีแนวทางการเขียนดังนี้
                   2.1 การเลือกระเบียบวิธีวิจัยให้เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับคำถามวิจัยที่ใช้ ไม่ใช่โดยเหตุผลอื่นๆ เช่น เราคำนวณเก่งหรือไม่เก่ง หรือแม้จะอ้างว่ายังไม่มีใครใช้วิธีนี้ในการวิจัยเรื่องนั้นๆ ซึ่งแม้บางทีจะพอรับได้แต่ก็ไม่ถูกต้องตลอดไป ตัวอย่างการเลือกวิธีการวิจัยที่เหมาะสมเช่น
                              ก. คำถามวิจัยเริ่มต้นด้วยคำว่า ทำไมจึงต้องการรายละเอียดที่จะอธิบายสาเหตุดังกล่าวประกอบกับยังไม่มีแนวทางจากงานวิจัยในอดีตมากนักจึงใช้การสัมภาษณ์แบบปลายเปิดแบบเชิงลึก หรือ
                              ข. คำถามวิจัยเริ่มด้วยคำว่า อะไรเท่าไหร่ ต้องการคำตอบในเชิงปริมาณครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ จึงใช้การสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม
                   2.2 การเลือกวิธีการวิจัยอาจจะอ้างอิงจากงานวิจัยในอดีตที่ใกล้เคียงกัน
เช่นจำนวนตัวอย่างที่เหมาะสม  หรือหัวข้อคำถาม หรือกรอบแนวคิดที่มากจากงานวิจัยในอดีต
                   2.3 การเลือกวิธีการวิจัยอาจจะอ้างอิงจากการศึกษาขั้นต้น
หากมีโอกาสและเวลาพอ การศึกษาขั้นต้นเช่นกรณีศึกษานำร่อง (Pilot study) อาจจะเป็นตัวกำหนด กรอบแนวคิด หรือ คำถามวิจัย หรือ ตัวแปรที่เหมาะสมก็ได้ หรือหากงานที่ศึกษาใช้แบบสอบถามที่มี Likert Scale การเลือกว่าจะใช้ Likert Scale ที่ 5, 7 หรือ 10 นั้นอาจจะมาจากการทดลองเก็บข้อมูลขั้นต้นก็ได้
สำหรับ MSc Dissertation ที่มีความยาวไม่เกิน 15,000 คำ บท Methodology ปกติจะมีความยาวประมาณ 2,000-5,000 คำ แล้วแต่ความเหมาะสม
               สรุป ระเบียบวิธีการวิจัยหรือวิธีการวิจัย (Research methodology) นั้นแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงวิตรรก (Rational research methodology) และระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical research methodology) วิธีวิจัย จะเลือกใช้วิธีวิจัยแบบใด เช่น จะใช้การวิจัยเอกสาร การวิจัยแบบทดลอง การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือจะใช้หลายๆ วิธีรวมกัน ซึ่งก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะใช้วิธีอะไรบ้าง
อ้างอิง
สุทิติ ขัตติยะและวิไลลักษณ์ สุวจิตตานนท์.(2553).แบบแผนการวิจัยและสถิติ.(พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ:หจก. เปเปอร์เฮาส์.
http://pairach.com/2011/08/07/part2_research_methodolog/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 01/12/2555 เวลา 07.23 น.
http://graduate.east.spu.ac.th/KM/AcademicWriting(F)/unit2/U2_7/01.htm  รศ.ดร.อลิสา วานิชดี  เข้าถึงเมื่อวันที่ 01/12/2555 เวลา 07.22 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น