วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

22. ภาคผนวก ( Appendix )


             ยุทธ   ไกยวรรณ์(2550:250) กล่าวว่า  รวบรวมข้อมูลสารสนเทศทั้งหลาย ที่ใช้ในงานวิจัยนี้ ที่จำเป็นต้องนำเสนอไว้ในส่วนเนื้อเรื่อง แต่อาจจะมีความสำคัญในการขยายความสำคัญบางเนื้อหา  เพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น จึงนำมาเสนอไว้ในภาคผนวกนี้
    ไพศาล  วรคำ(2552;426)  กล่าวว่า เป็นหลักฐานที่ผู้วิจัยนำเสนอเพื่อประกอบการรายงานในส่วนเนื้อหา เพื่อเพิ่มความสมบรูณ์และช่วยให้เข้าใจรายงานการวิจัยละเอียดมากขึ้น เป็นที่รวมหลักฐาน ที่แสดงว่าผู้วิจัยได้ทำกิจกรรย่อยอย่างเป็นระบบ สามารถตรวจสอบได้เช่น การแสดงเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล
    พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544:392) กล่าวไว้ว่า  ภาคผนวกเป็นรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ต้องนำเสนอยืนยันเพื่อแสดงถึงการดำเนินการวิจัยอย่างเป็นระบบ และเพิ่มความน่าเชื่อถือของผลงานวิจัยอีกทั้งจะเป็นการช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจรายงานการวิจัยได้ดียิ่งขึ้น และได้เห็นแบบอย่างหรือแนวทางการดำเนินงานในบางประการ ภาคผนวกมีหลายลักษณะซึ่งอาจนำเสนอแยกเป็นหมวดหมู่เป็นภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค ฯลฯ และอาจเรียงลำดับตามขั้นตอนของกระบวนการวิจัย
     สรุป เป็นการวบรวมหลักฐานที่ผู้วิจัยศึกษาเพื่อประกอบการรายงาน แสดงให้เห็นว่าผู้วิจัยได้ทำงานอย่างเป็นระบบ ตรวจสอบได้เพื่อให้เกิดความชัดเจนสำหรับบุคคลที่เกิดข้อสงใส เช่น เครื่องมือที่ใช้ข้อมูลเก็บรวบรวมข้อมูล    
 อ้างอิง
ไพศาล  วรคำ.(2552).การวิจัยทางการศึกษา.ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ยุทธ  ไกยวรรณ์.(2550).หลักการทำวิจัยและการทำวิทยานิพนธ์.กรุงเทพฯ:บริษัทพิมพ์ดี  จำกัด.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ.(2544).ระเบียบวิธีการวิจัยทางสัมคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร.

21. เอกสารอ้างอิง ( References )

          ยุทธ   ไกยวรรณ์(2550:219) กล่าวว่า  ประกอบด้วยบรรณานุกรม ภาคผนวก ประวัติผู้วิจัย
บรรณานุกรม เป็นรายการหนังสือ เอกสารต่าง ๆ ตลอดจนการสัมภาษณ์ คำบรรยาย  บทความ สารนิเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและใช้ในการศึกษาค้นคว้า นำมารวบรวมไว้และจัดเขียนเรียงตามตัวอักษร
        ไพศาล  วรคำ  (2552:425)กล่าวว่า บรรณานุกรม เป็นรายกายที่แสดงแหล่งที่มาของเนื้อหาสาระบางส่วนที่นำเสนอไว้ในเนื้อหา เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงเป็นแหล่งศึกษาเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่สนใจศึกษา  ผู้วิจัยต้องเขียนบรรณานุกรมไว้ทุกรายการอ้างอิง โดยเรียงลำดับตามตัวอักษรตามพจนานุกรม
        รวีวรรณ ชินะตระกูล(2550:100)  กล่าวว่า เป็นการอ้างอิงเพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความที่ยกมาอ้างอิง เพื่อเป็นการยืนยันให้น่าเชื่อถือ  หรือเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่บุคคลหรือองค์การผู้เป็นเจ้าของเกี่ยวกับบทความ แนวคิด หรือข้อมูลนั้น  เป็นการขยายและอธิบายความเพิ่มเติมไว้ต่างหากเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในเนื้อหา หรือเป็นการบอกกล่าวให้อ่านรายละเอียดที่เกี่ยวกับเนื้อเรื่องบางตอนในงานวิจัยนั้น
        สรุป เป็นการรวบรวมรายชื่อหนังสือหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยในแต่ละชิ้น เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือกับผู้ที่สนใจอ่านงานวิจัย เป็นการแสดงบอกแหล่งที่มาของเนื้อหา เพื่อให้เกียรติแก่บุคคลหรือองค์การเกี่ยวกับบทความ แนวคิดนั้น ๆ
อ้างอิง
ไพศาล  วรคำ.(2552).การวิจัยทางการศึกษา.ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ยุทธ  ไกยวรรณ์.(2550).หลักการทำวิจัยและการทำวิทยานิพนธ์.กรุงเทพฯ:บริษัทพิมพ์ดี  จำกัด.
รวีวรรณ  ชินะตระกูล.(2550).วิธีวิจัยการศึกษา.ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

20. งบประมาณ ( Budget )


              http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้รวบรวมไว้ว่า งบประมาณ (budget) การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรแบ่งเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
               1.เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
               2.ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
               3.ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
               4.ค่าครุภัณฑ์
               5.ค่าประมวลผลข้อมูล
               6.ค่าพิมพ์รายงาน
               7.ค่าจัดประชุมวิชาการ เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบโครงการแล้ว
               8.ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยแต่ละแห่งอาจกำหนดรายละเอียดของการเขียนงบประมาณแตกต่างกัน ผู้ที่จะขอทุนวิจัยจึงควรศึกษาวิธีการเขียนงบประมาณของแหล่งทุนที่ตนต้องการขอทุนสนับสนุน และควรทราบถึงยอดเงินงบประมาณสูงสุดต่อโครงการที่แหล่งทุนนั้นๆ จะให้การสนับสนุนด้วย เนื่องจากถ้าผู้วิจัยตั้งงบประมาณไว้สูงเกินไป โอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนก็จะมีน้อยมาก
               สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ ( 2539: 249 ) ได้กล่าวไว้ว่า คือ งบประมาณ หมายถึงแผนการดำเนินงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรขององค์การใดองค์การหนึ่ง สำหรับระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งในภายหน้า ซึ่งแผนการดำเนินงานนี้อาจจะมีลักษณะเป็นแผนระยะยาว เช่น งบประมาณที่มีระยะเวลา 3 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี หรืออาจจะเป็นแผนระยะสั้น เช่น งบประมาณรายเดือน 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี 
              อรชร โพธิ ( 2545:210 ) ได้กล่าวไว้ว่า งบประมาณ หมายถึงระบบการวางแผนงานที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขทางการเงินสำหรับการดำเนินธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และนโยบายในการดำเนินงานขององค์การ การจัดสรรทรัพยากรไปใช้เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร และผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานตามแผนนั้น ๆ
             สรุป งบประมาณ หมายถึง แผนการดำเนินงานในการจัดหาเงินมาใช้ในกิจการ ซึ่งจะแสดงเป็นตัวเลข ในรูปของจำนวนหน่วยและจำนวนเงินที่จะใช้ดำเนินงาน สำหรับระยะเวลาในภายหน้า การจัดทำงบประมาณจะจัดทำล่วงหน้า ถ้าเป็นงบประมาณระยะสั้นก็จะมีระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี และถ้าเป็นงบประมาณระยะยาวจะมีระยะเวลา 3 ปี 5  ปี การจัดทำงบประมาณมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ในทางการบริหาร และเป็นที่ยอมรับสำหรับการช่วยตัดสินใจของผู้บริหารได้
อ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2555 เวลา 12:21  น.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์.(2539).การบัญชีต้นทุน แนวคิดและการประยุกต์เพื่อการตัดสินใจเชิงการบริหาร. กรุงเทพ : หจก. สยามเตชั่นเนอรี่ ซัพพลายส์.
อรชร โพธิสุข และคณะ.(2545).เอกสารการสอนการบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ. กรุงเทพ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

19. การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน ( Administration & Time Schedule )


                     เสนาะ ติเยาว์ (2544 : 1) ได้กล่าวไว้ว่า การบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ 
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2545 : 728)ได้กล่าวไว้ว่า การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย  นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง
ภิรมย์ กมลรัตนกุล (2531 : 8) ได้กล่าวไว้ว่า การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยมีการวางแผน ดำเนินงานตามแผน และประเมินผลในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มแรกจนเสร็จสิ้นโครงการเป็นขั้นตอน ดังนี้
1.วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
2. กำหนดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
   2.1 ขั้นเตรียมการ
      - ติดต่อเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
      - ติดต่อผู้นำชุมชน
     - การเตรียมชุมชน
     - การคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย
     - การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจ
    - การอบรมผู้ช่วยนักวิจัย
    - การทดสอบเครื่องมือในการสำรวจ
    - การแก้ไขเครื่องมือในการสำรวจ
  2.2 ขั้นปฏิบัติงาน
     - ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
     - ขั้นการเขียนรายงาน
3. ทรัพยากรที่ต้องการของแต่ละกิจกรรมรวมทั้งเวลาที่ใช้
4. การดำเนินงาน ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูลสำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ
   ก. การจัดองค์กร เช่น การกำหนดหน้าที่ของคณะผู้ร่วมวิจัยแต่ละคนให้ชัดเจน การประสานงาน การสรรหาและการพัฒนาบุคคลากร เป็นต้น
   ข. การสั่งงาน ได้แก่ การมองหมายงาน การควบคุม เป็นต้น
   ค. การควบคุมการจัดองค์กร นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินงานเพื่อใช้ในการสั่งการ และควบคุมคุณภาพของงานโดยอาจทำเป็น แผนภูมิการสั่งการเพื่อวางโครงสร้างของทีมงานวิจัย กำหนดขอบเขตหน้าที่ตลอดจนติดตามประเมินผลให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือทำเป็น แผนภูมิเคลื่อนที่
  ง. การควบคุมโครงการ เช่น ทำเป็นตารางปฏิบัติงานซึ่งเป็นตารางกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานของแต่ละ  กิจกรรมเพื่อช่วยให้การควบคุมเวลาและแรงงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และอาจ ช่วยกระตุ้นให้ผู้วิจัยทำเสร็จทันเวลา ตารางปฏิบัติงานจะดูความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมที่จะปฏิบัติและระยะเวลาของ แต่ละกิจกรรม โดยแนวนอนจะเป็นระยะเวลาที่ใช้ของแต่ละกิจกรรม ส่วนแนวตั้งจะเป็น กิจกรรมต่าง ๆที่ได้กำหนดไว้ จากนั้นจึงใช้แผนภูมิแท่งในการแสดงความสัมพันธ์นี้
  จ. การนิเทศงาน ได้แก่ การแนะนำ ดูแล แก้ไขซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมงานให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง
สรุป การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง โดยมีการวางแผน ดำเนินงานตามแผน และประเมินผลในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มแรกจนเสร็จสิ้นโครงการเป็นขั้นตอน
อ้างอิง 
เสนาะ ติเยาว์.(2545). หลักการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว.(2545). ศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพมหานคร : สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย.
ภิรมย์ กมลรัตนกุล.(2542).หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย. กรุงเทพมหานคร : เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น จำกัด.


18. อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข


สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม (2538:6) กล่าวว่า อุปสรรคในการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
           1) ขาดนักวิจัยที่มีคุณภาพ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งเป็นกำลังหลัก 16,351 - 19,115 คน
สามารถผลิตผลงานวิจัยในเกณฑ์ดี ดีมาก และดีเด่นได้เพียงร้อยละ 5.6 , 0.6 และ 0.1 เท่านั้น
           2) ผู้บริหารขาดความสามารถในการบริหารจัดการและไม่เห็นความสำคัญของการวิจัย
           3) มีแหล่งเงินทุนเพื่อการวิจัยน้อย
           4) นักวิจัยมีภาระงานอื่นที่ต้องปฏิบัติมากทำให้ไม่มีเวลาสำหรับทำวิจัย
           5) ขาดผู้ช่วยงาน ทรัพยากรสนับสนุนการวิจัย และมีปัญหาขาดความร่วมมือในการวิจัย
 แนวทางการแก้ไข
           1) กำหนดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายหลัก และแผนงานวิจัยระดับชาติที่ชัดเจนและเป็นเอกภาพ
           2) สนับสนุนองค์กรจัดสรรทุนอย่างจริงจังให้มีความเป็นอิสระ มีความหลากหลายในทางปฏิบัติ เพื่อให้การจัดสรรทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลของงานวิจัยที่มีคุณภาพ
          3) ต้องมีมาตรการการสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับงานวิจัยของชาติ
         4) ระดมทุนและทรัพยากรทั้งภาครัฐและเอกชน มีมาตรการจัดสรรทุนและทรัพยากรที่ดี เพื่อให้ผลิตผลงานวิจัยที่ได้คุณภาพ
         5) มีมาตรการสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานวิจัยเฉพาะทาง
        
                 ภิรมย์ กมลรัตนกุล(2531:8)กล่าวว่า การทำวิจัย ต้องพยายามหลีกเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัยระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่เหมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้
แนวทางการแก้ไข
นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการ อย่าให้ "ความเป็นไปได้" มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้
McLean,J.(1995:91) กล่าวว่า ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการไว้หลายประการ อาทิเช่น ปัญหาการเลือกวิธีการที่ใช้ในการวิจัยระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทักษะในการทำวิจัยของครู วิธีการที่การพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยของครู การอ้างอิงผลสรุปจากการวิจัย ความตรงของการวิจัยซึ่งดำเนินการโดยครูอาจไม่มีประสบการณ์เพียงพอในการทำวิจัย และจรรยาบรรณของการทำวิจัยกับนักเรียน
แนวทางการแก้ไข
อ่านและศึกษาการวิจัยหลายๆตัวอย่างหรืออาจจะศึกษาโดยกรณีตัวอย่างที่เป็นห้องเรียน หรือนักเรียน อาจเปรียบเทียบชั้นเรียนในปีนี้กับชั้นเรียนปีที่แล้ว
             สรุป การวิจัยมิใช่แต่การมุ่งสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับศาสตร์นั้นๆแต่เพื่อแก้ไข้ปัญหา การทำวิจัยเป็นนำเสนอข้อที่ถูกต้องและพิสูจน์มาแล้วว่าเชื่อถือได้สามารถนำมาใช้ แต่ถ้าผู้ทำวิจัยไม่เสนอข้อมูลจริงหรือยอมแพ้มองข้ามอุปสรรคที่เจอเป็นเรื่องเล็กน้อยงานวิจัยก็จะไม่ใช้งานวิจัยที่ถูกต้อง
อ้างอิง
สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม.(2538).หลักการ แนวคิดและรูปแบบเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน.
เส้นทางสู้การวิจัยในชั้นเรียน.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ บริษัท บพิธการพิมพ์.
ภิรมย์ กมลรัตนกุล (2531). หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย. (หน้า 8).กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์หอสมุดกลาง. 
สุวิมล ว่องวาณิช.(2544).การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน.(หน้า91).กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์อักษรไทย.

17. ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย ( Expected Benefits & Application )

ยุทธ   ไกยวรรณ์(2550:54) กล่าวว่า  เป็นการเขียนเพื่อบ่งบอกถึงการนำใช้ ในภาพกว้าง กำหนดไว้ว่า  เมื่อทำการวิจัยเรื่องนั้นแล้ว จะสามารถนำผลของการวิจัย นั้นไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง และประโยชน์อย่างไรบ้าง และประโยชน์จากการวิจัยนี้  จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องทำการวิจัยปัญหานั้น ๆ
http://www.watpon.com/Elearning/res9.htm รองศาสตราจารย์นิภา ศรีไพโรจน์ ปัจจุบันนี้บุคคลในวงการต่าง ๆ ได้ให้ความสนใจการวิจัยมากขึ้น ทั้งนี้เพราะได้เล็งเห็นประโยชน์ของการวิจัยที่มีต่อมวลมนุษย์นั่นเอง แต่ประโยชน์ของการวิจัยจะมีมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความเชื่อถือและถูกต้องมากน้อยเพียงใด ถ้าข้อมูลเป็นเท็จผลการวิจัยที่ได้แทนที่จะเป็นประโยชน์จะกลับกลายเป็นโทษต่อผู้นำผลการวิจัยนั้นไปใช้ ดังนั้นการวิจัยจะมีประโยชน์อย่างแท้จริงหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของนักวิจัย ตลอดจนความร่วมมือของผู้ให้ข้อมูลด้วย โดยทั่วไปแล้วอาจกล่าวได้ว่า การวิจัยมีประโยชน์ดังต่อไปนี้
1.การวิจัยช่วยให้เกิดวิทยาการใหม่ ๆ เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้นทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ
2.การวิจัยสามารถใช้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องและยุติธรรม
3.การวิจัยจะช่วยให้เข้าใจปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และสามารถใช้ทำนายปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมากกว่าการคาดคะเนแบบสามัญสำนึก
4.การวิจัยสามารถช่วยในด้านการกำหนดนโยบาย การวางแผนงาน การตัดสินปัญหาหรือการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหารให้เป็นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
5.การวิจัยสามารถตอบคำถามที่ยังคลุมเครือให้กระจ่างชัดยิ่งขึ้น
6.การวิจัยจะช่วยกระตุ้นความสนใจของนักวิชาการ ให้มีการใช้ผลการวิจัยและทำงานค้นคว้าวิจัยต่อไป
7.การวิจัยจะทำให้ทราบข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซึ่งนำมาใช้เป็นประโยชน์เพื่อการปรับปรุงหรือพัฒนาบุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ ให้เจริญก้าวหน้าดียิ่งขึ้น
8.การวิจัยทำให้มีผลงานวิจัยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเสริมให้ทราบข้อเท็จจริงได้กว้างขวางและแจ่มชัดยิ่งขึ้น
9.การวิจัยจะช่วยกระตุ้นบุคคลให้มีเหตุผล รู้จักคิด และค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ
10.การวิจัยช่วยให้มีเครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ทันสมัยเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอำนวยความสะดวกสบายให้แก่มนุษย์เป็นอย่างมา
                http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/impact1.htm ได้รวบรวมไว้ว่า ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย เป็นความสำคัญของการวิจัยที่ผู้วิจัยพิจารณาว่าการวิจัยเรื่องนั้นทำให้ทราบผลการวิจัยเรื่องอะไร และผลการวิจัยนั้นมีประโยชน์ต่อใคร อย่างไร เช่น การระบุประโยชน์ที่เกิดจากการนำผลการวิจัยไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้ หรือนำไปเป็น แนวทางในการปฏิบัติ หรือแก้ปัญหา หรือพัฒนาคุณภาพ หลักในการเขียนมีดังนี้
               1. ระบุประโยชน์ที่อาจเกิดจากผลที่ได้จากการวิจัย
               2. สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และอยู่ในขอบเขตของการวิจัยที่ได้ศึกษา
               3. ในกรณีที่ระบุประโยชน์มากกว่า 1 ประการ ควรระบุเป็นข้อ
               4. เขียนด้วยข้อความสั้น กะทัดรัด ชัดจน
               5. การระบุนั้นผู้วิจัยต้องตระหนักว่ามีความเป็นไปได้
สรุป เป็นการเขียนเพื่อบอกว่าผลการศึกษาจะเอาไปทำอะไร นำไปให้ใครที่เกี่ยวข้อง และในการเขียนประโยชน์ของการวิจัยควรระมัดระวังอย่าเขียนในลักษณะล้อเลียน ความมุ่งหมายของงานวิจัยและควรเลี่ยงในลักษณะ เพียงเพื่อทราบทั้งนี้เพราะการวิจัยที่ได้ควรนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการบริหาร การจัดการ  หรือในด้านวิชาการ ไม่ใช่ทำวิจัยเพื่อให้ทราบเท่านั้น เป็นการเขียนเพื่อบ่งบอกถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องทำการวิจัยปัญหานั้น ๆ ซึ่งในการเขียนนั้นต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และเป็นแนวทางเดียวกับกับขอบเขตของงานวิจัย        
อ้างอิง
ยุทธ  ไกยวรรณ์.(2550).หลักการทำวิจัยและการทำวิทยานิพนธ์.กรุงเทพฯ:บริษัทพิมพ์ดี  จำกัด.         
  http://www.watpon.com/Elearning/res9.htm รองศาสตราจารย์นิภา ศรีไพโรจน์ เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1/12/2555 เวลา 10:10 น.
 http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/impact1.htm เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1/12/2555 เวลา 10:16 น.

16. ข้อจำกัดในการวิจัย ( Limitation )

ยุทธ   ไกยวรรณ์ (2550:45)กล่าวว่า  ซึ่งขอบเขตของการวิจัยจะเป็นการตีกรอบว่างานวิจัยนั้นครอบคลุมถึงเรื่องอะไร  ผู้วิจัยจำทำวิจัยภายใต้ข้อกำหนดอะไร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง  ขอบเขตการวิจัยจะช่วยให้งานวิจัย นั้นชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เวลา  สถานที่ เนื้อหาที่ต้องการศึกษา ประชากร กลุ่มตัวอย่างที่เก็บรวบรวม สามารถแบ่งได้ดังนี้
         ขอบเขตด้านเวลา  เป็นการกำหนดช่วงเวลาของการดำเนินการวิจัย ว่าจะดำเนินการช่วงใด  ถึงเวลาไหน จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้วิจัยจำต้องทำให้แล้วเสร็จในเวลาที่กำหนด
         ขอบเขตสถานที่  เป็นการกำหนดว่าจะดำเนินการเก็บรวบรวมที่ไหน  อาจเป็นพื้นที่ตามเขตการปกครอง เช่น ตำบล  อำเภอ ชุมชน องค์กร หน่วยงาน เป็นต้น
        ขอบเขตด้านเนื้อหา  เป็นการบ่งบอกถึงว่าผู้วิจัยจะศึกษาหรือวิเคราะห์เพื่อหาอะไร  ของงานวิจันนั้น ตัวแปรที่บ่งบอกว่าผู้วิจัยจะวิเคราะห์อะไร
      ขอบเขตตัวแปร ได้กำหนดไว้ 2 ตัวแปร คือตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม  ตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรที่ผู้วิจัย สนใจ   ส่วนตัวแปรตามเป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยศึกษาหรือ วิเคราะห์  เช่น ผู้วิจัยสนใจเรื่องการสร้างทีมงานคุณภาพขององค์กร ซึ่งเป็นประเด็นสนใจเป็นตัวแปรอิสระ ตัวแปรได้แก่  การได้รับการยอมรับ  ค่าตอบแทน  ทัศนคติต่อผู้บริหาร ซึ่งตัวแปรทั้งสองจะเชื่อมโยงให้ผู้วิจัยทราบว่า  ผู้วิจัยจะวิเคราะห์จะหาหรือจะศึกษาอะไร  และถ้าศึกษาแล้วผู้วิจัยจะไปศึกษากับใคร
ไพศาล  วรคำ(2552:188)  กล่าวว่า เป็นการกำหนดกรอบในการดำเนินงานวิจัย ว่าทำการศึกษาอย่างไรกับสิ่งใด ครอบคลุมถึงเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งทำให้สอคล้องกับประเด็นการวิจัย และแนวทางการดำเนินการวิจัยมีความชัดเจนมากขึ้น เช่น ระเบียบวิจัย แหล่งข้อมูล ตัวแปร เนื้อหา และช่วงเวลาที่ทำการศึกษา
รวีวรรณ  ชินะตระกูล (2550:51) กล่าวว่า แต่ละเรื่องควรกำหนดขอบเขตของการวิจัยให้ชัดเจนเพื่อให้งานวิจัยของผู้ทำการวิจัยเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ตั้งไว้และลักษณะปัญหาที่ต้องการวิจัย ซึ่งได้แก่ การกำหนดขนาดและลักษณะตัวอย่างประชากร  กำหนดชนิดของเครื่องมือ รวมทั้งลักษณะของเขตของเนื้อหา กำหนดเรื่องที่จะศึกษาว่ามีตัวแปรอะไรบ้างที่ต้องศึกษา
สรุป  เป็นการกำหนดกรอบในการดำเนินงานวิจัย ว่าทำการศึกษาอย่างไรกับสิ่งใด ครอบคลุมถึงเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งทำให้สอคล้องกับประเด็นการวิจัย และแนวทางการดำเนินการวิจัยมีความชัดเจนมากขึ้น เพื่อให้งานวิจัยเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ตั้งไว้ ได้แก่ การกำหนดเวลา ประชากร สถานที่  เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย รวมถึงเนื้อหาด้วย
อ้างอิง
ไพศาล  วรคำ.(2552).การวิจัยทางการศึกษา.ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ยุทธ  ไกยวรรณ์.(2550).หลักการทำวิจัยและการทำวิทยานิพนธ์.กรุงเทพฯ:บริษัทพิมพ์ดี  จำกัด.
รวีวรรณ  ชินะตระกูล.(2550).วิธีวิจัยการศึกษา.ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

15. ปัญหาทางจริยธรรม ( Ethical Consideration )

                     องอาจ นัยพัฒน์ (2548:24) ได้กล่าวไว้ว่า จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัย ในกระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการวิจัย นักวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์มักมีโอกาสเสี่ยงต่อปัญหาทางด้านจริยธรรม (ethical problem) นานัปการ เช่น
                  1.การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy) ของบุคคลแต่ละคนหรือกลุ่มชนแต่ละกลุ่ม (ทั้งโดยการเฝ้าสังเกตการณ์และสอบถามเรื่องส่วนตัว)
                  2.การหลอกลวง (deception) หน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการทำวิจัย
                  3.การบิดเบือนข้อค้นพบของการศึกษาวิจัย รวมทั้งการแอบอ้างผลงานวิจัยของบุคคลอื่นมาเป็นของตนเอง (plagiarism) ปัญหาทางด้านจริยธรรมทางการวิจัยในด้านต่าง ๆ เหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
                 ผศ.ดร.พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544:28) ได้กล่าวไว้ว่า ปัญหาทางจริยธรรมหรือการผิดจรรยาบรรณ มีการกระทำผิดทั้งผู้ทำวิจัยหรือผู้ขอทุนวิจัยและผู้ให้ทุนวิจัย ซึ่งมีหลายลักษณะดังนี้
                 1.การตั้งชื่อเรื่อง
                        - ลอกเลียนแบบชื่อเรื่องงานวิจัยของผู้อื่น
                        - ตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้หน่วยงานโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน
                        - ผู้ให้ทุนขาดความสามารถในการตั้งชื่อและประเมินชื่อเรื่องงานวิจัย
                 2.การขอรับทุนสนับสนุน
                        - งานวิจัยเรื่องเดียวแต่ขอรับทุนหลานแหล่ง
                        - เปลี่ยนชื่อบางส่วน เช่น เปลี่ยนชื่อจังหวัดแต่เนื้อในเหมือนกันหมดแล้วแยกกันไปขอทุน
                        - แอบอ้างชื่อนักวิจัยและที่ปรึกษาโครงการ
                        - การติดสินบนผู้พิจารณา
                        - ขอทุนแล้วเอาไปจ้างผู้อื่นทำต่อ
                        - ผู้ให้ทุนให้ทุนโดยเห็นแก่พรรคพวก หรือบอกให้พรรคพวกส่งเรท่อง มาแข่งขัน
                        - ผู้ให้ทุนใช้ความแค้นส่วนตัวแกล้งไม่ให้ผ่านหรือแกล้งวิธีอื่น ๆ เท่าที่จะทำได้
                        - การตั้งผู้ที่ไม่มีความรู้มาเป็นกรรมการพิจารณาทุนวิจัย
                        - การพิจารณาทุนมีการเกรงใจกันหรือใช้วิธีการตกลงกันล่วงหน้า (lobby) มาก่อน
                3.งบประมาณการวิจัย
                        - ตั้งงบประมาณสูงเกินจริง และไร้เหตุผล
                        - ผู้ให้ทุนตัดงบประมาณอย่างไร้เหตุผล
                        - ผู้ให้ทุนสร้างเงื่อนไขให้เบิกยาก เช่น ใช้ระบบราชการเพื่อแลกกับผลประโยชน์บางอย่าง
                4.การทำวิจัย
                       - แอบอ้างชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือวิจัยโดยส่งเครื่องมือไปให้เป็นพิธี
                       - ไม่ส่งผลงานวิจัยตามกำหนดเวลาที่ขอทุน
                       - ไม่ได้เก็บข้อมูลจริงใช้วิธีสร้างข้อมูลขึ้นมาใหม่ (ยกเมฆ)
                       - ยักยอกงบประมาณไปใช้ส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงานวิจัย
                       - เร่งรีบทำวิจัยช่วงใกล้ ๆ วันจะส่งผลงานวิจัยทำให้ผลงานวิจัยไม่มีคุณภาพ
                       - ไม่มีความรู้พอที่จะทำวิจัย
                       - นำข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างไปเปิดเผย
                       - ผู้ให้ทุนไม่มีการติดตามผลการดำเนินการวิจัยของนักวิจัย
                5.การเขียนรายงานการวิจัย
                       - จูงใจ เบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน
                       - เขียนรายงานในสิ่งที่ไม่ได้ทำจริง เช่น ไม่ได้หาคุณภาพเครื่องมือวิจัยแต่เขียนว่าหาคุณภาพเครื่องมือวิจัยพร้อมทั้ง รายงานค่าสถิติที่สร้างขึ้นเอง เป็นต้น
                       - คัดลอกข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่อ้างอิง
                       - นำผลงานวิจัยผู้อื่นมาเปลี่ยนชื่อเป็นของตน
               6.การส่งผลงานวิจัย
                      - ได้ทุนแล้วเมื่อครบกำหนดเงื่อนไขไม่ยอมส่งผลงานวิจัยให้หน่วยงานที่ให้ทุนตามสัญญา
                      - ไม่ได้แก้ตามประเด็นที่ตกลงไว้ก่อนรับทุน และผู้ให้ทุนก็ไม่ได้ตรวจ
    http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-15 ได้รวบรวมไว้วว่า   การวิจัยในมนุษย์ จะต้องชอบด้วยมนุษยธรรม จริยธรรม และไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย ต้องมีการวิเคราะห์ เปรียบระหว่างประโยชน์ และโทษ ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ๆ รวมทั้งหามาตรการ ในการคุ้มครองผู้ถูกทดลอง ค้นหาผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งหาวิธีการ ในการป้องกัน หรือแก้ไข เมื่อมีอันตรายเกิดขึ้น ตลอดจนการหยุดการทดลองทันที เมื่อพบว่าการทดลองนั้น อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้
การประเมินปัญหาจริยธรรม มีแนวคิดบางประการ ที่สมควรนำมาพิจารณาดังนี้
              1. งานวิจัยนั้นควรทำหรือไม่ ? ทั้งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะมาสนับสนุนหรือคัดค้าน คำถามการวิจัย รูปแบบและระเบียบวิธีวิจัย
              2. การวิจัยนี้จำเป็นต้องทำในคนหรือไม่ ? ถ้าจำเป็นต้องทำ ผู้วิจัยมีหลักฐานการวิจัยในสัตว์ทดลอง หรือการวิจัยอื่น ๆ มายืนยันว่า ประสบผลสำเร็จตามสมควร หรือไม่                                                                                             
             3. การวิจัยนั้น คาดว่าจะเกิดผลดีมากกว่าผบเสียต่อตัวอย่างที่นำมาศึกษาหรือไม่
             4. ผู้วิจัยต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะทำวิจัยเป็นอย่างดี และสามารถอธิบายถึงผลดีและผลเสียต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการวิจัยนั้นได้
             5. ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร (informed consent) จากตัวอย่างที่นำมาศึกษา หรือผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี โดยผู้วิจัย ต้องให้ข้อมูลที่ละเอียด และชัดเจนเพียงพอ ก่อนให้ผู้ถูกทดลอง เซ็นใบยินยอม เช่น
                     - อธิบายถึงวัตถุประสงค์ และวิธีการที่จะใช้
                     - อธิบายถึงประโยชน์ที่จะได้รับ และอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งผลข้างเคียงต่าง ๆ ความไม่สะดวกสบาย ที่อาจจะเกิดขึ้น ระหว่างการทดลองนั้น
                     - ผู้ถูกทดลอง ต้องได้รับการยืนยันว่า มีสิทธิจะถอนตัวออกจากการศึกษา เมื่อไรก็ได้ โดยการถอนตัวนั้น จะไม่ก่อให้เกิดอคติ ในการได้รับการดูแล รักษาพยาบาลต่อไป
                     -  ข้อมูลทั้งหลาย จะถูกเก็บเป็นความลับ
             6. ผู้วิจัยต้องรับผิดชอบ ในการดูแล แก้ไข อันตราย หรือผลเสียต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น แก่ผู้ทดลองโดยทันที และต้องปฏิบัติอย่างสุดความสามารถ ทั้งนี้ ต้องเตรียมอุปกรณ์จำเป็น และมีประสิทธิภาพ ในการช่วยเหลือให้ครบถ้วน
             7. จำนวนตัวอย่าง (simple size) ที่ใช้ ต้องใช้เพียงเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงระเบียบวิธีวิจัยที่กล่าวมาแล้ว
             8. ในกรณีที่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้อาสาสมัคร ต้องระบุด้วยว่า ให้อย่างไร และเป็นจำนวนเท่าไร
โดยทั่วไป การวิจัยในมนุษย์ จำเป็นต้องส่งโครงร่างการวิจัย ให้คณะกรรมการจริยธรรม ของแต่ละสถาบัน หรือของกระทรวงฯ พิจารณา เพื่อขอความเห็นก่อนเสมอ
           สรุป  ปัญหาทางจริยธรรมหรือการผิดจรรยาบรรณ มีการกระทำผิดทั้งผู้ทำวิจัยหรือผู้ขอทุนวิจัยและผู้ให้ทุนวิจัย ซึ่งมีหลายลักษณะดังนี้
                   1.การตั้งชื่อเรื่อง
                   2.การขอรับทุนสนับสนุน
                   3.งบประมาณการวิจัย
                   4.การทำวิจัย
                   5.การเขียนรายงานการวิจัย
                   6.การส่งผลงานวิจัย
อ้างอิง 
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-15 สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2555
องอาจ นัยพัฒน์ (2548) สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2555
พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544) สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2555