วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

14. การวิเคราะห์ข้อมูล ( Data Analysis )


             สุรพงษ์  โสธนะเสถียร (2545:54) กล่าวว่า  การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากที่สุดในขั้นตอนที่สุดท้ายนี้ เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่นำข้อมูลดิบมาคำนวณด้วยแบบจำลองทางสถิติเพื่อตอบปัญหาในการวิจัย การเก็บรวบรวมในขั้นตอนที่ผ่านมาเป็นการนำเอาแผนและเงื่อนไขที่ปรารถนาจำทำการวิจัยนั้นไปสู่สังคมซึ่งเป็นโรคแห่งความเป็นจริง ข้อมูลดิบที่ได้จากโลกแห่งความเป็นจริงซึ่งเป็นข้อมูลจากการสังเกตไม่อาจนำไปใช้ได้โดยสะดวกทั้งนี้เพราะข้อมูลอยู่ในสภาพข้อเท็จจริงที่เป็นชิ้น ๆ ไม่ได้ประสานขึ้นเป็นองค์ความรู้จึงยากที่จะทำความเข้าใจ นำไปอธิบาย  และคาดทำนายเป็นปรากฏการณ์ที่อยู่มนสังคมได้อย่างกระชับ เพื่อให้การสร้างองค์ความรู้ประสบผลสำเร็จไม่ว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานก็ตาม
     ยุทธ   ไกยวรรณ์ (2550:100)กล่าวว่า  หลังจากเก็บรวยรวมข้อมูลครบแล้ว การที่ผู้วิจัยจะวิเคราะห์อะไรนั้น ผู้วิจัยจะต้องมีการวางแผนและออกแบบไว้แล้วเช่นกัน ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการนำเสนอข้อมูล  ผู้วิจัยอาจจะกำหนดการวิจัยเป็นขั้นตอนดังนี้
ตอนที่ 1 วิเคราะห์แบบสอบถามในส่วนข้อมูลเบื้องต้น
ตอนที่ 2 วิเคราะห์แบบสอบถามในส่วนขอข้อความ แยกตามความคิดเห็น
ตอนที่ 3 แบบสอบถามปลายเปิดให้ผู้ตอบได้แสดงความคิดเห็น
ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามหากตอนใดมีเกณฑ์ของผลการวิเคราะห์ ผู้วิจัยต้องนำเสนอเกณฑ์นั้นด้วย บอกแห่งที่มาของเกณฑ์นั้นด้วย
     ไพศาล  วรคำ(2550:306) กล่าวว่า  เป็นขั้นตอนดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลที่จัดเตรียมไว้ตามวิธีการที่เหมาะสมกับการวิจัยครั้งนั้น ๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เก็บรวบรวมมาซึ่งข้อสรุปที่ได้สามารถตอบคำถามการวิจัย หรือทดสอบสมมติฐานการวิจัยได้  แบ่งได้ 2วิธี
  1. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ มีลักษณะเป็นคำบรรยายปรากฏการณ์หรือถ้อยคำจากการสัมภาษณ์ เปรียบเทียบการเชื่อมโยง เพื่อเป็นข้อสรุป
   2. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงประมาณ ใช้ตัวเลขแทนจำนวนหรือปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการวัดชนิดต่าง ๆ จะอาศัยวิธีการทางสถิติหาข้อสรุปเพื่อตอบคำถาม
                สรุป การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากที่สุดในขั้นตอนที่สุดท้ายนี้ เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่นำข้อมูลดิบมาคำนวณด้วยแบบจำลองทางสถิติเพื่อตอบปัญหาในการวิจัย เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ได้จากการเก็บรวมรวมข้อมูลนำมาสรุปและเขียนลงรายงานเพื่อใช้ตอบปัญหาการวิจัยและจุดประสงค์ของการวิจัย
อ้างอิง
สุรพงษ์  โสธนะเสถียร.(2545).หลักและทฤษฎีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ประสิทธิ์ภัณฑ์แอนด์พรินติ้ง.
ไพศาล  วรคำ.(2552).การวิจัยทางการศึกษา.ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ยุทธ  ไกยวรรณ์.(2550).หลักการทำวิจัยและการทำวิทยานิพนธ์.กรุงเทพฯ:บริษัทพิมพ์ดี  จำกัด.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น