วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

13. การรวบรวมข้อมูล ( Data Collection )


         ยุทธ   ไกยวรรณ์ (2550:99) กล่าวว่า  บอกว่างานวิจัยชิ้นนี้ ผู้วิจัยจะเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มใด อย่างไร บอกขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างละเอียด และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้
         ไพศาล วรคำ (2550:300) กล่าวว่า ต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยกรอบแนวคิด สมมติฐานการวิจัย การประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการเขียนรายงาน วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลที่นิยมใช้ได้แก่ สังเกต  สัมภาษณ์  สนทนากลุ่ม สังเคราะห์เอกสาร  สอบถามหรือสำรวจ ทดสอบ
                สุรพงษ์  โสธนะเสถียร (2545:50)กล่าวว่า  การเก็บรวบรวมข้อมูลเริ่มต้นจากการพิจารณาสภาพของข้อมูล สภาพของข้อมูลในที่นี้ หมายถึงการเน้นเนื้อหา ประเด็นดังกล่าวมีขอบเขตอย่างไร  และเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาแนวคิดไปจากแนวคิดในเรื่องเดิม ที่มีมาก่อนหน้ามากน้อยเพียงใด ประเด็นดังกล่าวจะมีใครหรือสิ่งใดเป็นผู้ให้ข้อมูลหรือกว่าได้ว่าเป็นแหล่งข้อมูล แหล่งข้อมูลดังกล่าวจะให้ข้อมูลในระดับใด เช่นท้องงถิ่น ระดับประเทศหรือระดับระหว่างประเทศ เป็นต้น โดยมีรายละเอียดของการเก็บข้อมูลได้หลายวิธรเช่น เทปบันทึกและเสียง ภาพถ่าย ระเบียบ สถิติ และเอกสารอื่น ๆ
                 สรุป การเก็บรวมรวมข้อมูลต้องมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย ตลอดจนการเขียนรายงานการวิจัย ซึ่งในการเก็บรวมรวมข้อมูลเราอาจะต้องใช้เครื่องมือช่วย เช่น แบบทดสอบ เอกสารแบบสอบถาม สังเกต สัมภาษณ์ สังเคราะห์เอกสาร ซึ่งนำมารวบรวมไว้
อ้างอิง
ไพศาล  วรคำ.(2552).การวิจัยทางการศึกษา.ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ยุทธ  ไกยวรรณ์.(2550).หลักการทำวิจัยและการทำวิทยานิพนธ์.กรุงเทพฯ:บริษัทพิมพ์ดี  จำกัด.
สุรพงษ์  โสธนะเสถียร.(2545).หลักและทฤษฎีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ประสิทธิ์ภัณฑ์แอนด์พรินติ้ง.
                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น