วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

16. ข้อจำกัดในการวิจัย ( Limitation )

ยุทธ   ไกยวรรณ์ (2550:45)กล่าวว่า  ซึ่งขอบเขตของการวิจัยจะเป็นการตีกรอบว่างานวิจัยนั้นครอบคลุมถึงเรื่องอะไร  ผู้วิจัยจำทำวิจัยภายใต้ข้อกำหนดอะไร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง  ขอบเขตการวิจัยจะช่วยให้งานวิจัย นั้นชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เวลา  สถานที่ เนื้อหาที่ต้องการศึกษา ประชากร กลุ่มตัวอย่างที่เก็บรวบรวม สามารถแบ่งได้ดังนี้
         ขอบเขตด้านเวลา  เป็นการกำหนดช่วงเวลาของการดำเนินการวิจัย ว่าจะดำเนินการช่วงใด  ถึงเวลาไหน จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้วิจัยจำต้องทำให้แล้วเสร็จในเวลาที่กำหนด
         ขอบเขตสถานที่  เป็นการกำหนดว่าจะดำเนินการเก็บรวบรวมที่ไหน  อาจเป็นพื้นที่ตามเขตการปกครอง เช่น ตำบล  อำเภอ ชุมชน องค์กร หน่วยงาน เป็นต้น
        ขอบเขตด้านเนื้อหา  เป็นการบ่งบอกถึงว่าผู้วิจัยจะศึกษาหรือวิเคราะห์เพื่อหาอะไร  ของงานวิจันนั้น ตัวแปรที่บ่งบอกว่าผู้วิจัยจะวิเคราะห์อะไร
      ขอบเขตตัวแปร ได้กำหนดไว้ 2 ตัวแปร คือตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม  ตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรที่ผู้วิจัย สนใจ   ส่วนตัวแปรตามเป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยศึกษาหรือ วิเคราะห์  เช่น ผู้วิจัยสนใจเรื่องการสร้างทีมงานคุณภาพขององค์กร ซึ่งเป็นประเด็นสนใจเป็นตัวแปรอิสระ ตัวแปรได้แก่  การได้รับการยอมรับ  ค่าตอบแทน  ทัศนคติต่อผู้บริหาร ซึ่งตัวแปรทั้งสองจะเชื่อมโยงให้ผู้วิจัยทราบว่า  ผู้วิจัยจะวิเคราะห์จะหาหรือจะศึกษาอะไร  และถ้าศึกษาแล้วผู้วิจัยจะไปศึกษากับใคร
ไพศาล  วรคำ(2552:188)  กล่าวว่า เป็นการกำหนดกรอบในการดำเนินงานวิจัย ว่าทำการศึกษาอย่างไรกับสิ่งใด ครอบคลุมถึงเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งทำให้สอคล้องกับประเด็นการวิจัย และแนวทางการดำเนินการวิจัยมีความชัดเจนมากขึ้น เช่น ระเบียบวิจัย แหล่งข้อมูล ตัวแปร เนื้อหา และช่วงเวลาที่ทำการศึกษา
รวีวรรณ  ชินะตระกูล (2550:51) กล่าวว่า แต่ละเรื่องควรกำหนดขอบเขตของการวิจัยให้ชัดเจนเพื่อให้งานวิจัยของผู้ทำการวิจัยเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ตั้งไว้และลักษณะปัญหาที่ต้องการวิจัย ซึ่งได้แก่ การกำหนดขนาดและลักษณะตัวอย่างประชากร  กำหนดชนิดของเครื่องมือ รวมทั้งลักษณะของเขตของเนื้อหา กำหนดเรื่องที่จะศึกษาว่ามีตัวแปรอะไรบ้างที่ต้องศึกษา
สรุป  เป็นการกำหนดกรอบในการดำเนินงานวิจัย ว่าทำการศึกษาอย่างไรกับสิ่งใด ครอบคลุมถึงเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งทำให้สอคล้องกับประเด็นการวิจัย และแนวทางการดำเนินการวิจัยมีความชัดเจนมากขึ้น เพื่อให้งานวิจัยเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ตั้งไว้ ได้แก่ การกำหนดเวลา ประชากร สถานที่  เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย รวมถึงเนื้อหาด้วย
อ้างอิง
ไพศาล  วรคำ.(2552).การวิจัยทางการศึกษา.ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ยุทธ  ไกยวรรณ์.(2550).หลักการทำวิจัยและการทำวิทยานิพนธ์.กรุงเทพฯ:บริษัทพิมพ์ดี  จำกัด.
รวีวรรณ  ชินะตระกูล.(2550).วิธีวิจัยการศึกษา.ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น