วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

5. วัตถุประสงค์ของการวิจัย( Objective (s ))


          ยุทธ   ไกยวรรณ์(2550:38) ได้รวบรวมและปรับเปลี่ยนบทความของ  สิน พันธุ์พินิจ ที่กล่าวว่า   จะเขียนเพื่อบอกว่า ผู้วิจัยจะทำอะไร  กับงานวิจัยเรื่องนี้ โดยการเขียนวัตถุประสงค์นั้น และยังเสนอการว่าผู้วิจัย ควรเขียนให้ชัดเจนไม่คลุมเครือ และบอกให้เห็นสิ่งที่ต้องการจะหา คำตอบหรือพิสูจน์ ได้แนะนำการเขียนวัตถุประสงค์เอาไว้ ดังนี้
             1.มีความชัดเจนกะทัดรัด
             2.อยู่ในกรอบหรือสอดคล้องกับหัวข้องเรื่องหรือปัญหาการวิจัย
             3.มีความเป็นไปได้จริงในแง่ของการปฏิบัติ
             4.ระบุจุดมุ่งเน้น ที่ต้องการสืบค้นหาคำตอบอย่าเฉาะเจาะจง
             5.มีการเรียงลำดับจุดมุ่งเน้นตามความเกี่ยวข้องอย่างเป็นระดับลดหลั่นกัน
          6.ใช้ถ้อยคำกล่าวถึงรูปแบบวิธีการศึกษาที่ใช้แสวงหาความรู้  ความจริง  เช่นสำรวจ การหาความสัมพันธ์  การทดลอง  เป็นต้น
             สรุป ประเด็นหลัก ๆสำคัญในผู้วิจัยได้ว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัยจะต้องเขียนให้ ชัดเจน กะทัดรัด และบ่งบอกถึงสิ่งที่ต้องพิสูจน์ให้ชัดเจน ว่าผู้วิจัยต้องการจะพิสูจน์อะไร  หรือหาอะไร
ไพศาล  วรคำ กล่าวว่า มีข้อควรทราบในการกำหนดวัตถุประสงค์ ดังนี้
             1.หลักในการกำหนดประเด็น คือความชัดเจนต้องแยกแยะเนื้อหา สาระของหัวข้อที่จะทำการวิจัย เป็นข้อย่อย ๆ  ให้เห็นว่าจะต้องศึกษาเรื่องอะไรบ้างภายใต้หัวข้อนั้น ๆ ข้อความไม่ซ้ำซ้อน ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็น ควรจัดเรียนลำดับที่จะศึกษา
              2.  ประโยชน์ของการกำหนดวัตถุประสงค์ ทำให้ผู้อ่านรายงานการวิจัยสามารถติดตามและประเมินผลการวิจัยได้ เป็นการแยกแยะรายละเอียดเกี่ยวกับหัวข้อที่จะศึกษา ก่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องที่จะทำการวิจัย จะทำให้ผู้วิจัยทรายว่าจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง และข้อมูลแต่ละด้านจะต้องละเอียดเท่าใด
              รวีวรรณ   ชินะตระกูล (2552:21) กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัยควรสอดคล้องกับเรื่องที่จะศึกษา คำกำหนดไว้อย่างชัดเจน และต้องสัมพันธ์กับขอบเขตปัญหาที่จะศึกษา ว่าต้องการศึกษาอะไรบ้าง เพื่อเป็นในทางในการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอข้อมูลได้ชัดเจน การตั้งวัตถุประสงควรจัดเรียงข้อความตามลำดับความสำคัญของการวิจัย กล่าวคือ ข้อแรกขอวัตถุประสงค์ควรตรงตามหัวข้อเรื่อง ข้อถัดมาเป็นเรื่องที่ต้องการค้นพบหรือผลพลอยได้ การที่จะตั้งวัตถุประสงค์ได้ชัดเจนก็หลังจากกำหนดปัญหาไว้ชัดเจน การกำหนดวัตถุประสงค์มักกำหนดเป็นข้อ ๆ
                ไพศาล  วรคำ  (2552:41) กล่าวว่ามีข้อควรทราบดังนี้
                 1. หลักในการกำหนดประเด็น คือความชัดเจนต้องแยกแยะเนื้อหา สาระของหัวข้อที่จะทำการวิจัย เป็นข้อย่อย ๆ  ให้เห็นว่าจะต้องศึกษาเรื่องอะไรบ้างภายใต้หัวข้อนั้น ๆ ข้อความไม่ซ้ำซ้อน ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็น ควรจัดเรียนลำดับที่จะศึกษา
    2. ประโยชน์ของการกำหนดวัตถุประสงค์ ทำให้ผู้อ่านรายงานการวิจัยสามารถติดตามและประเมินผลการวิจัยได้ เป็นการแยกแยะรายละเอียดเกี่ยวกับหัวข้อที่จะศึกษา ก่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องที่จะทำการวิจัย จะทำให้ผู้วิจัยทรายว่าจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง และข้อมูลแต่ละด้านจะต้องละเอียดเท่าใด
               สรุป  เป็นการเขียนเพื่อบ่งบอกว่าผู้วิจัยต้องทำอะไร กับงานวิจัยนี้ ควรเขียนให้ชัดเจนไม่คลุมเครือ บงบอกให้เห็นในสิ่งที่กระทำ มีความกะทัดรัด มีความเป็นไปได้จริง ระบุจุดมุ่งเน้นที่ต้องสืบค้น เรียงลำดับความสำคัญ และต้องสอดคล้องกับเนื้อหา และเรื่องที่จะทำด้วยการเขียนวัตถุประสงค์มักกำหนดเป็นข้อๆ โดย การตั้งวัตถุประสงควรจัดเรียงข้อความตามลำดับความสำคัญของการวิจัย กล่าวคือ ข้อแรกขอวัตถุประสงค์ควรตรงตามหัวข้อเรื่อง ข้อถัดมาเป็นเรื่องที่ต้องการค้นพบหรือผลพลอยได้
อ้างอิง
ไพศาล  วรคำ.(2552).การวิจัยทางการศึกษา.ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ยุทธ  ไกยวรรณ์.(2550).หลักการทำวิจัยและการทำวิทยานิพนธ์.กรุงเทพฯ:บริษัทพิมพ์ดี  จำกัด.
รวีวรรณ  ชินะตระกูล.(2550).วิธีวิจัยการศึกษา.ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น